ฤาษีลิงดำท่านก็เคยจัด
“พิธีสะเดาะเคราะห์”
ลูกศิษย์ได้นำมาเผยแพร่ในเว็บ ตั้งชื่อหน้าเว็บว่า “พิธีสะเดาะเคราะห์
ยอดอุบายธรรมที่มีผลจริง”
เนื้อหาก็พอสรุปได้
ดังนี้
พิธีสะเดาะเคราะห์ วัดท่าซุง (โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
คัดจากหนังสือสมบัติพ่อให้เล่ม ๑ หน้า ๒๔๓ -๒๔๘)
คำว่า เคราะห์กรรม เป็นวิธีเรียกของพราหมณ์
ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า กฎของกรรม คณาจารย์ต่างๆ เรียกไม่เหมือนกัน แต่ผลมันเหมือนกัน
นั่นคือ ความทุกข์
ถ้าอยากทราบว่า ความทุกข์มาจากไหน ก็จะเล่าให้ฟัง
ประการแรก
การป่วยไข้ไม่สบายทางร่างกาย มาจากกรรมปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
ประการที่ ๒
ความทุกข์เกิดจากไฟไหม้บ้าง ขโมยปล้น ขโมยจี้ ลมพัดให้บ้านพัง น้ำท่วม
มาจากโทษอทินนาทาน การลักขโมยของเขาจากชาติก่อน
ประการที่ ๓
เคราะห์กรรมที่ทำให้คนใต้บังคับบัญชาดื้อด้าน ว่ายากสอนยากไม่เชื่อฟัง
มาจากโทษกาเมสุมิจฉาจาร เจ้าชู้จัดในชาติก่อน
ประการที่ ๔
เราพูดดีแต่คนอื่นไม่ชอบฟัง ไม่เชื่อฟัง มาจากโทษมุสาวาทจากชาติก่อน
ประการที่ ๕
การเป็นโรคปวดหัวบ่อยๆ หรือโรคประสาทก็ดี เป็นบ้าก็ดี เป็นโทษมาจากกฎของกรรม
คือ ดื่มสุราเมรัย ในชาติก่อน อันนี้เป็นหลักหยาบๆ หลักใหญ่นะ
ก็รวมความว่า ขึ้นชื่อว่า เคราะห์กรรม คือ กฎของกรรมเก่าของเราในชาติก่อน
คนทุกคนที่เกิดมานี้ที่ไม่มีกรรมเก่า
ที่กรรมไม่ดี ไม่มีนะ ไม่เคยทำบาปนี้ไม่มี
ทีนี้คำว่า สะเดาะเคราะห์ หมายความว่า ทำให้เคราะห์หมด คำว่า
สะเดาะเคราะห์ไม่มีศัพท์ในทางพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์ของคณาจารย์ต่างๆ
ในทางพระพุทธศาสนาไม่มี
ในเมื่อไม่มี ทำไมวัดท่าซุงจีงบอกว่า สะเดาะเคราะห์ ก็เลยบอกว่า พูดตามเขา
ทีนี้ การทำคราวนี้ไม่ใช่สะเดาะเคราะห์ เป็นการสร้างความดี
ความโชคดีให้เกิดขึ้น คือ หมายความว่า ทำบุญให้มีกำลังสูง
คำว่า เคราะห์ คือ บาป เราล้างไม่ได้ แต่ถ้าหากว่า ทำความดีให้มีกำลังสูงกว่า
คำว่า เคราะห์
บาป ถึงแม้มันจะกลั่นแกล้งขนาดไหนก็ตาม แต่เรามีกำลังบุญสูง
คือคล้ายๆ กับสุนัขไล่กัด ถ้าเราวิ่งเร็วมันก็กัดไม่ทัน ถึงกัดทันก็กัดไม่ถนัด
บุญในพระพุทธศาสนามี ๓ ชั้น คือ ทาน ศีล ภาวนา
ภาวนานี่เป็นบุญใหญ่ที่สุด จะให้ญาติโยมภาวนาว่า พุทโธ เป็นการนึกถึงพระพุทธเจ้า
|
กรรมวิธีในการสะเดาะเคราะห์ของฤาษีลิงดำ
ก็มีดังนี้
หลังจากเทศน์เสร็จแล้ว
ฤาษีลิงดำก็นำบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทสมาทานศีล ๕ จบแล้ว สมาทานพระกรรมฐานแล้วให้ภาวนาพุทโธ ๑๐ นาที
ต่อจากนั้นพระเริ่มสวดอภิธรรมมาติกา
เมื่อพระสวดจบแล้ว ฤาษีลิงดำก็อธิบายต่ออีกว่า
อันดับต่อนี้ ไปบรรดาญาติโยมทั้งหลายฟังอภิธรรมแล้ว
เป็นมหากุศลใหญ่ที่กล่าวมาแล้วนี้ ต่อไปนี้ ก็เป็นการสะเดาะเคราะห์
พระจะบังสกุลตาย
ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายคิดว่า ขึ้นชื่อว่า อกุศลกรรมที่ทำมาแล้วในชาติก่อน
(ช่วงนี้หลวงพ่อพูดถึงศีล ๕ )
อกุศลทั้งหลายเหล่านี้ที่ให้ผลกับเราในชาตินี้ก็ตาม
ขอบุญบารมีของเราที่มีแล้วในวันนี้เป็นมหาศาล
จงทำลายอกุศลกรรมทั้งหลายให้พินาศสลายไปพร้อมกับคำว่า
บังสกุลตายของพระ หมายความว่า ให้เคราะห์กรรมต่างๆ
มันตายไปกับคำบังสกุลตายของพระ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปนะ ตั้งใจตามนั้นนะ
(พระสงฆ์บังสกุลตาย) อนิจจัง วะตะ สังขารา
อุปปาทะวะยะธัมมิโน... อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโขฯ
(หลวงพ่ออธิบายต่ออีกว่า)
ขอให้เคราะห์กรรมต่างๆ ของญาติโยมทั้งหลาย จงสลายตัวไป
ต่อไปนี้จะ บังสกุลเป็น ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทจงคิดว่า
เวลานี้เราเกิดใหม่พร้อมกับความดี คือ เป็นผู้มีศีล เราสมาทานศีลแล้ว
อานิสงส์ศีลจะปรากฏกับเรา
ประการที่ ๒ เราถวาย สังฆทาน นี่เป็นมหากุศลใหญ่
ชาตินี้ก็มีความคล่องตัวในความเป็นอยู่ ในการบริโภคทรัพย์
ชาติต่อไปจะเป็นมหาเศรษฐีทุกชาติจนกว่า จะเข้าพระนิพพาน
และประการที่ ๓ เราได้มีการ บวชเณร บวชเณรมีอานิสงส์มาก
จะเป็นเทวดานางฟ้าอยู่ได้นาน
ประการที่ ๔ เรา เจริญพระกรรมฐาน
พระกรรมฐานนี่เป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพานโดยตรง
จะเป็นเหตุให้พุทธบริษัทพ้นจากความทุกข์ คือไปนิพพานได้
ประการที่ ๕ ฟังอภิธรรม
อภิธรรมจัว่าเป็นอานิสงส์ให้เกิดปัญญา ถ้าบังเอิญจะเกิดชาติหน้า เป็นคนร่ำรวย
เป็นคนมีอายุยืนนาน มีความสวยก็ตาม ถ้าไร้ปัญญาก็ไร้ประโยชน์
ฉะนั้นการฟังอภิธรรมจึงเกิดประโยชน์กับบรรดาพุทธบริษัทในด้าน ปัญญา
ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า
จงคิดว่าผลบุญทั้งหมดตามที่กล่าวมาแล้วนี้คือ
๑. ศีล ๒. สังฆทาน ๓. บวชเณร ๔. เจริญกรรมฐาน ๕. ฟังอภิธรรม
จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าเป็นผู้เกิดขึ้นพร้อมกับความดีอันนี้ มีแต่ความสุขตลอดไป
ตลอดชีวิต ถ้าตายจากชาตินี้เมื่อไรขอไปนิพพานทันทีทันใดนะ ต่อนี้
พระจะบังสกุลเป็น
อะจิรัง วะตะยัง ปพฐะวิง อะเสสสะติ
ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถังวะ กะริงคะรังฯ
ต่อนี้ไปขอญาติโยมทั้งหมด รับพรจากพระสงฆ์นะ อธิษฐานตามชอบใจ (พระสงฆ์ให้พร)
หลังจากนี้หลวงพ่อก็ให้พระประพรมน้ำพุทธมนต์ให้ เป็นเสร็จพิธี
|
ฤาษีลิงดำ
ท่านก็มีแนวคิดที่ดี และก้าวหน้ามาก
ที่ผมมีแนวคิดและทำไปนั้น ก็บังเอิญไปตรงกันกับของฤาษีลิงดำ
ไม่ใช่เป็นการลอกเลียนแบบกัน
ผมมาพบการสะเดาะเคราะห์ของฤาษีลิงดำ
ก็เพราะการหาข้อมูลมาเขียนบทความชุดนี้ นี่แหละ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น